บทความ

บทที่ 4 เรื่องพลังงานหมุนเวียน
รหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34   
ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  2   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่          
                         
บทที่ 4   เรื่อง  พลังงานหมุนเวียน
 
สาระที่  3:  การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1  :  เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี  ใช้ความรู้  ภูมิปัญญา  จินตนาการ  และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ  สร้างสิ่งของเครื่องใช้  วิธีการเชิงกลยุทธ์  ตามกระบวนการเทคโนโลยี  สามารถตัดสินใจ  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  โลกของงานและอาชีพ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 
 
เข้าใจความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
มีเจตคติที่ดีต่อการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตเพื่อการดำรงชีวิต
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
 
 
บอกความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานในชีวิตประจำวันได้
สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนได้
 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
   1.   ความสามารถในการสื่อสาร 
   2.   ความสามารถในการคิด
   3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
   4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  
   5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี




        พลังงานหมุนเวียน

       
พลังงานที่ได้มาจากกระแสพลังงานที่ต่อเนื่องและเกิดซ้ำ ๆ ในสิ่งแวดล้อม แหล่งของพลังงานหมุนเวียน คือ แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่องไม่หมดไป เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล หรือแม้แต่ขยะมูลฝอย เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนนี้ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก รวมถึงการเปลี่ยนรูปพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้เป็นพลังงานไฟฟ้า


ส่วนประเทศไทยในอดีตนั้นการผลิตไฟฟ้าได้ถูกจำกัดสิทธิแก่เฉพาะการไฟฟ้าของประเทศไทยเท่านั้น แต่กฎระเบียบเหล่านี้ได้รับการพัฒนา จนเอกชนสามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน ตลอดถึงเอกชนรายเล็ก ๆ หรือชุมชนก็สามารถทำการผลิตไฟฟ้าแล้วส่งขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ด้วย จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้สนใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพียงระบบเดียว หรือต้องการมีบ้านเรือนหรือโรงงานที่มีระบบไฟฟ้าเองเพื่อประสิทธิภาพหรือภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น


ซึ่งพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพในประเทศไทย และได้มีการพัฒนาและทดลองติดตั้งอยู่แล้วในประเทศไทย มีหลายประเภท ดังนี้

  • ชีวมวล เป็นกากเหลือจากการกสิกรรม เช่น แกลบ, ชานอ้อย, ปาล์มน้ำมัน หรือกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถเผาไหม้และนำพลังงานความร้อนไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้
  • ก๊าซชีวภาพ ที่เกิดจากการย่อยสารอินทรีย์ในของเสียและนำก๊าซไปเผาจนนำความร้อนที่ได้มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้
  • แสงอาทิตย์ เราสามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้าได้ โดนผ่านเซลล์สุริยะที่สามารถติดตั้งที่ใดก็ได้ที่แสงอาทิตย์ส่องถึง
  • พลังงานน้ำ มีทั้งพลังงานน้ำขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยพลังงานน้ำขนาดใหญ่สามารถนำไปสร้างเป็นเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำและผลิตไฟฟ้าได้ ขณะที่พลังงานน้ำขนาดเล็กอย่างแม่น้ำหรือลำธารเล็กๆ ก็สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน
  • พลังงานลม การนำกระแสลมมาหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้นได้รับความนิยมอย่างมากในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ซึ่งมีกระแสลมแรงสม่ำเสมอ

ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน


ประโยชน์ที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนมีหลาย ๆ ด้าน ทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล จำพวกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ อีกทั้งลดการนำเข้าเชื้อเพลิงพวกนี้จากต่างประเทศ และพลังงานเชื้อเพลิงยังให้ผลตอบแทนการลงทุนที่น่าสนใจอีกด้วย
ซึ่งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์จากสิ่งด้อยค่าให้กลับมามีค่าในการพัฒนาประเทศได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ที่จะนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและจะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

ที่มา  www.panyathai.or.th